2022-04-23 11:35:54 Am

พัฒนางานด้วยหลักการ KPT

KPT ย่อมาจาก K คือ Keep (เก็บรักษา), P คือ Problem (ปัญหา) และ T คือ Try (ลอง) โดยหลักการ KPT ได้รับการพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกจากบริษัทญี่ปุ่น Toyota วัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ทบทวนการทำงานที่ผ่านมา สำหรับปรับปรุงการทำงานครั้งต่อไปให้ดีขึ้น ไม่ว่าเราจะทำงานแบบรูทีน หรือได้รับมอบหมายโปรเจกต์ เมื่อการดำเนินการเสร็จสิ้น การทบทวนการทำงานที่ผ่านมา จะทำให้เราเห็นสิ่งที่เราควรทำต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้น และโอกาสในการทดลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้การทำงานในครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

Keep - เราควรเก็บอะไรไว้? 

ขั้นตอนแรกในการใช้ KPT คือการระบุข้อดีที่เราควรเก็บไว้ โดยให้แบ่งเวลาสำหรับนั่งเขียนข้อดีทั้งหมด เก็บไว้ในหมวดหมู่ Keep หากเรามีปัญหาในการระบุข้อดี ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหา บางทีกระบวนการทำงานของเราอาจพบกับอุปสรรคมากมาย จนเกิดปัญหามากกว่าแง่บวก หากมีการทำงานเป็นทีม ทุกคนควรช่วยกันระบุข้อดี

 

Problem - เรามีปัญหาอะไรบ้าง?

หากการทำงานของเราเป็นแบบรูทีน เราสามารถระบุปัญหาของเราลงไว้ในหมวด Problem ได้เลย แต่หากเราทำงานเป็นทีม หรือได้รับมอบหมายโปรเจกต์ ก็ควรมีการระดมความคิด พยายามระบุปัญหาที่เกิดจากการทำงานเป็นหลัก ไม่ว่าจะปัญหาเล็กน้อย หรือปัญหาใหญ่ก็สามารถระบุลงไปได้เลย แต่ต้องไม่เน้นไปตัวที่บุคคล

 

หากทีมของเราได้ทำโปรเจกต์ใหญ่ ก็ควรพิจารณาแต่ละขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าทีมจะไม่พลาดรายละเอียดย่อย เมื่อทีมระบุปัญหาทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ทุกคนต้องช่วยกันระดมความคิด ค้นคว้า และให้ความสนใจกับปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิมขึ้นอีก โดยทีมสามารถแบ่งกันค้นคว้าและหาวิธีแก้ปัญหา

 

Try - เราสามารถลองทำสิ่งใดได้บ้าง?

ไม่มีความคิดใดที่ตายตัว หลังจากช่วยกันระบุปัญหา ทีมควรจัดประชุมอีกครั้ง เพื่อหาไอเดียใหม่ๆ จากคนในทีม ไม่มีไอเดียใดที่ไม่เข้าท่า ทุกคนควรเปิดใจรับฟัง จดบันทึกทุกไอเดีย เพื่อนำมาสรุปร่วมกันอีกครั้ง การเริ่มต้นโปรเจกต์ใหม่ หรือแม้แต่การทำงานในแต่ละวัน เราก็ควรพิจารณาหาไอเดียใหม่ๆ ไม่ยึดติดกับวิธีการเก่าๆ เพราะโลกหมุนไปเร็วมาก การระดมความคิดแต่ละครั้งถือเป็นโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน เราหรือทีมของเราสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานได้เสมอ และเมื่อโปรเจกต์เสร็จสิ้น ก็เป็นเวลาที่ทุกคนจะมีเวลาไตร่ตรองสิ่งต่างๆ

 

การประเมิน KPT อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ทีมมองเห็นปัญหาที่เกิดซ้ำๆ หากการประเมินมีปัญหาเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราก็ควรหาสาเหตุที่ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ปัญหาบางอย่างเป็นเพียงข้อจำกัดในการปฏิบัติงานที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ในขณะที่ปัญหาอื่นๆ บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน

 

 

 

 

อ้างอิง: cacoo.com

 


---พิเศษ!!! สำหรับผู้ที่กำลังมองหางานใหม่ หางาน ขอนแก่น และหางานทั่วประเทศ หรือบริษัทที่มองหาพนักงาน วันนี้ bestjoth.com พร้อมแล้วที่จะช่วยทุกคนตามหาสิ่งที่ใช่ ไม่ว่าจะหางาน สมัครงาน รับสมัครงาน เพียงไปที่เว็บไซต์ของเราและลงทะเบียน!---