2023-02-20 14:13:10 poom Ldb

จิตวิทยาในการทำงาน

ภาระหน้าที่ในการทำงาน แบ่งตามแรงขับเคลื่อนได้เป็น 2 ประเภท

1.แรงขับพื้นฐาน หมายถึง ความต้องการมีชีวิตรอด (Basic need) 

2.แรงผลักดันส่วนเกิน หมายถึง ทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำ

 

 

แรงขับพื้นฐานและแรงผลักดันส่วนเกิน ทำให้เกิดการทำงาน  2 ประเภท

1.การทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ มาจากแรงขับพื้นฐาน

             1.1 อาชีพ เป็นการทำงานที่ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง เพื่อชดเชยกับพลังงานในการทำงาน

             1.2 วิชาชีพ เป็นการทำงานที่ไม่ได้ผลตอบแทนเป็นค่าจ้าง แต่ได้เป็นรูปแบบของค่าธรรมเนียมจากใช้ความรู้ที่มีมาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น ทนาย แพทย์ หรือวิชาชีพอื่น ๆ ที่มีกฎหมายรับรอง

2.การทำงานเพื่อความพอใจมาจากแรงผลักดันส่วนเกินทำงานตามความชอบ ไม่ใช้ในการเลี้ยงชีพเช่น งานอดิเรก

 

 

จิตวิทยาในการทำงาน เชิงวิทยาศาสตร์ คือการเปลี่ยนแปลงพลังงานเป็นรูปแบบของงานซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ แบ่งพฤติกรรมการเรียนรู้ ได้ 3 ประเภท ดังนี้

1.พฤติกรรมที่เรียนรู้จากสิ่งเร้า เช่น ความกลัว ความกังวล ความเครียด

2.พฤติกรรมที่เรียนรู้จากผลลัพธ์ เช่น ได้รับคำตำหนิในเชิงสร้างสรรค์ นำกลับไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น หรือ ได้รับคำชมเชยก็ขยันมุ่งมั่นทำดีต่อ

3.พฤติกรรมที่เรียนรู้จากต้นแบบ เช่น การเลียนแบบจากเพื่อน พ่อแม่ ครู รวมถึงไอดอลหรือดาราที่ชื่นชอบ

 

อ้างอิง : phad.ph.mahidol.ac.th / consyncgroup

----------------------------------------------------

---พิเศษ!!! สำหรับผู้ที่กำลังมองหางานใหม่ หางาน ขอนแก่น และหางานทั่วประเทศ หรือบริษัทที่มองหาพนักงาน วันนี้ bestjoth.com พร้อมแล้วที่จะช่วยทุกคนตามหาสิ่งที่ใช่ ไม่ว่าจะหางาน สมัครงาน รับสมัครงาน เพียงไปที่เว็บไซต์ของเราและลงทะเบียน!---